สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

จระเข้

จระเข้ (อังกฤษ: Crocodile) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้  มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา"[2] ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย [3]







ซาลาเมนเดอร์

มีรูปร่างส่วนมากมีขา 2 คู่ และมีหาง ลำตัวสั้นและมีกล้ามเนื้อลำตัวลักษณะเป็นปล้องเล็กน้อย บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำมีลำตัวเรียวยาวและลดรูปของขา เช่น สกุล Amphiuma, Siren, Oedipina, Pseudobranchus ส่วนมากได้ลดรูปจำนวนชิ้นของกระดูกกะโหลก และตัวเต็มวัยมีขนาดแตกต่างกันมาก คือ ระหว่าง 3 เซนติเมตร จนถึงเกือบ 2 เมตร ตัวเต็มวัยมีบางส่วนอาศัยอยู่บนบก แต่ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่บางชนิดก็อาศัยและผสมพันธุ์กันบนบก หรืออาศัยอยู่แต่ในน้ำและผสมพันธุ์กันในน้ำ หรืออาศัยอยู่บนต้นไม้  ซาลาแมนเดอร์ไม่มีช่องหูชั้นกลางและไมมีแผ่นเยื่อแก้วหู โครงสร้างใช้รับฟังเสียงประกอบด้วยกระดูกคอลิวเมลลา และกระดูกโอเพอคิวลัม โครงสร้างทั้ง 2 นี้อาจเป็นกระดูกอ่อนหรือเป็นกระดูกและเชื่อมต่อกับหูชั้นใน กระดูกคอลิวเมลลาใช้รับฟังคลื่นเสียงในอากาศ ส่วนกระดูกโอเพอคิวลัมที่เชื่อมต่อกับกระดูกซูปราสคาพูลาของกระดูกหัวไหล่และกล้ามเนื้อใช้รับฟังคลื่นเสียงคลื่นความถี่ต่ำในอากาศและแรงสะเทือนบนพื้นดิน อย่างไรก็ตามซาลาแมนเดอร์ในหลายวงศ์ก็ไม่มีกระดูกโอเพอคิวลัมและหรือไม่มีกล้ามเนื้อ










แมวน้ำ
แมวน้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Phocidae (ไม่มีใบ) และวงศ์ Otariidae (มีใบหู)ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Arctocephalus pusillus pusillu ลักษณะทั่วไป : ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร : ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้ กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ : แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี สถานภาพปัจจุบัน : สถานที่ชม : สวนสัตว์เชียงใหม่ ข้อมูลเพิ่มเติม : UNEP-WCMC Species Database [1] 
แมวน้ำ


นกแพนกวิน

เพนกวินมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณซีกโลกทางใต้หรือขั้วโลกใต้ เป็นนกที่บินไม่ได้ มีลักษณะเด่นคือ มีขนสีดำที่ด้านหลัง และขนสีขาวที่ด้านหน้าท้อง ซึ่งช่วยป้องกันเพนกวินจากสัตว์นักล่าต่าง ๆ เวลาว่ายน้ำ ปีกของเพนกวินมีลักษณะคล้ายครีบปลา ช่วยในการว่ายน้ำ แต่ไม่สามารถใช้ปีกในการบินเหมือนนกทั่วไป เพนกวินไม่สามารถหายใจในน้ำได้แต่สามารถกลั้นหายใจได้นานมากในน้ำ ร้อยละ 75 ของชีวิตเพนกวินจะอาศัยในน้ำ เพนกวินสามารถว่ายน้ำได้เร็วเฉลี่ยประมาณ 22- 24 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 250 เมตร ตีนของเพนกวินเป็นพังผืดเหมือนตีนเป็ด ใช้ได้ดีเวลาว่ายน้ำหรือดำน้ำ แต่เมื่อเดินบนบกแล้ว เพนกวินจะเดินตัวตรง[3] แต่จะทำให้เดินอย่างช้า ๆ ซึ่งเพนกวินมีวิธีการเคลื่อนที่บนบกที่เร็วกว่าและใช้ได้ผลดีกว่าการเดิน นั่นคือ การไถลตัวไปตามทางลาดชันหรือพื้นที่ลื่นเป็นน้ำแข็ง [4]
เพนกวินออกลูกเป็นไข่ เมื่อเพนกวินตัวเมียออกลูกจะให้ตัวผู้กกไข่ ส่วนตัวเมียจะออกไปหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา,
 ครัสเตเชียน หรือหมึก ลูกเพนกวินแรกเกิดจะมีขนสีเทา เมื่อโตขึ้นขนสีเทาจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำที่ด้านหลัง และขนสีขาวที่ด้านหน้าท้อง เพนกวินจะมีพฤติกรรมการทำรังที่ต่างออกไปตามแต่ละชนิด บางชนิดทำรังใกล้ทะเล แต่บางชนิดทำรังในป่ามะเลาะ[5] หรือพื้นที่ในชุมชนของมนุษย์ เช่น ใต้ถุนบ้าน หรือในสวนหลังบ้าน ก็มี[3] เพนกวินทุกชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาว ทำให้เพนกวินต้องมีชั้นไขมันที่หนาเพื่อช่วยในการกักเก็บความร้อนจากร่างกาย และเป็นอาหารในช่วงที่คลาดแคลน ขนของเพนกวินมี 2 ชั้น ชั้นในทำหน้าที่เหมือนขนของนกทั่วไป ส่วนชั้นนอกจะมีไขมันเคลือบไว้ เพื่อป้องกันน้ำ ความหนาวเย็น และลมหนาวจากภายนอก เพนกวินจะผลัดขนปีละครั้ง ขนที่เก่าและเสียหายจะหลุดออก และขนใหม่จะขึ้นอย่างรวดเร็ว




เนสซี
 หรือ อีลาสโมซอรัส สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยในทะเลยุคเดียวกับไดโนเสาร์ มีผู้อ้างว่าเคยพบเห็นถึงปัจจุบันกว่านับไม่ถ้วน และมีรูปถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพยนตร์มากมาย [1]โดยหลักฐานแรกสุดที่มีบันทึกถึงเนสซี คือ บันทึกของอดัมแนน ระบุว่า ในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 565 เซนต์โคลัมบา ขณะเดินทางมาสู่ที่ราบสูงสกอตแลนด์เพื่อดึงพวกนอกรีตเข้าสู่ศาสนา ได้ทำพิธีไล่ปีศาจแม่น้ำที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเนสส์ที่เรียกว่า "พิกติส" ซึ่งได้ฆ่าคนไปแล้วหนึ่งคน โดยการส่งตัวแทนลงไปว่ายในน้ำเพื่อล่อปีศาจ แต่ทว่าไม่ได้มีการบรรยายถึงลักษณะของปีศาจตนนี้ มีแต่เพียงบันทึกไว้ว่าน้ำปั่นป่วนเท่านั้นเอง ขณะที่ความเชื่อเรื่องปีศาจหรือสัตว์ขนาดใหในน้ำ ของซีกโลกทางเหนือแบบนี้ก็มีในพื้นที่อื่น เช่น สแกนดิเนเวีย หรือไว
เชื่อว่าเนสซีมีรูปร่างคล้ายเพลสิโอซอรักิ้ง[3]

































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น