สัตว์บก






                                                                สุนัข



หมา หรือภาษาทางการว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: Canis lupus familiaris หรือ Canis familiaris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของสุนัขตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น สุนัขที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมานอก (Cuon alpinus) สุนัขที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิดCanis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ม้าบราดอร์ซิลเวอร์ริทรีฟเวอร์ชิหว่าว้า และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ฝังมุกหรือไม่ฝังมุกขลิหรือไม่ขลิบ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ซูชิ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน






แมว

แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในตระกูล Felidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันทาง







แพนด้า

แพนด้ายักษ์ หรือไจแอนท์แพนด้า
 (อังกฤษ: Giant panda; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ailuropodamelanoleuca)หรือที่นิยมเรียกว่า หมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี(Ursidae)ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน [1] อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุด[2] มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[2] อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2006 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ[3] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น[4][5] สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์[6]



หมีขาว

หมีขาว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากหมีกริซลีย์ (U. arctos horribilis) (บางข้อมูลจัดให้เป็นที่ 1) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ตัวผู้เต็มวัยอาจสูงได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักตัวอาจมากได้ถึง 350–680 กิโลกรัม (770–1,500 ปอนด์) อายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี[2] หมีขาวมีรูปร่างที่แตกต่างจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีส่วนคอที่ยาวกว่า ขณะที่ใบหูก็มีขนาดเล็ก อุ้งเท้ามีขนาดใหญ่ และที่เป็นจุดเด่นเห็นได้ชัด คือ สีขนที่เป็นสีขาวครีมอมเหลืองอ่อน ๆ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เนื่องจากผลของเกลือในน้ำ




เสือดาว

เสือดาว หรือ เสือดำ (อังกฤษ: Leopard, Panther; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera pardus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) เป็นเสือขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (P. tigris) ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำเรียกว่า "ลายขยุ้มตีนหมา" แต้มบริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฏเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฏอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือสีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2-99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5-7.4 เซนติเมตร และหนัก 45-65 กิโลกรัม เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชั



กระต่าย

กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง





หมีโคอาร่า

ใน ค.ศ. 1798 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า ข้อมูลรายละเอียดของโคอาลาเริ่มถูกตีพิมพ์ในซิดนีย์กาเซ็ตต์ ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เดอ แบลงวิลล์ ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า "กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้" และคำว่า "หมี" ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน โกลด์ฟัสส์ ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง "สีขี้เถ้าส่วนชื่อสามัญคำว่า "โคอาล่า" มาจากภาษาอะบอริจินส์ มีความหมายว่า "ไม่กินน้ำ" เนื่องจากพฤติกรรมที่เป็นสัตว์ที่ไม่ดื่มน้ำเลย เพราะได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอจากใบยูคาลิปตัสอยู่แล้ว[3]








      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น