สัตว์ปีก


นกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (อังกฤษ: Parrot) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ[2] รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้




นกแต้วแร้วท้องดำ
นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (อังกฤษ: Gurney's Pitta, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pitta gurneyi) เป็นนกที่พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประเทศไทยแห่งเดียวในโลกเท่านั้น นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า มีรายงานการพบครั้งสุดท้าย ในประเทศพม่าปี พ.ศ. 2457 และไม่พบอีกเลยติดต่อกันนานถึง 50 ปี ทำให้ CITES ขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ถูกค้นพบในประเทศไทยโดย Philip D. Rould และ อุทัย ตรีสุคนธ์ [1] โดยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น จึงถูกให้เป็นสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่ง IUCN เคยประเมินสถานภาพให้อยู่ในระดับใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในประเทศพม่ามากขึ้น ในปี พ.ศ. 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็นใกล้สูญพันธุ์ 







                         หงส์
หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์; อังกฤษ: Swan) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่้าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย
หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่
หงส์ดำ (Cygnus atratus)
หงส์ทรัมปีเตอร์ (Cygnus buccinator)
หงส์ทุนดรา (Cygnus columbianus)
หงส์ฮูเปอร์ (Cygnus cygnus)
หงส์ขาวคอดำ (Cygnus melancoryphus)
หงส์ขาว (Cygnus olor) เป็นชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด
หงส์ โดยปกติแล้วจะไม่พบในประเทศไทย เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีระยะการฟักไข่ประมาณ 35-37 วัน ขณะที่ฟักไข่นั้น จะมีอุปนิสัยดุมาก เพื่อปกป้องไข่ ลูกหงส์เมื่อคลอดออกมาแล้ว จะมียังมีขนขึ้นไม่เต็ม และจะไม่มีลักษณะเหมือนตัวเต็มตัว

โดยปกติแล้ว หงส์เป็นนกที่มนุษย์ไม่ใช้เป็นอาหาร แต่จะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามได้ โดยมักเลี้ยงตามสระน้ำต่าง ๆ ตามสวนสาธารณะหรือสถานที่ต่าง ๆ เพราะหงส์ถือเป็นสัตว์ที่มนุษย์ถือว่า มีความสวยสง่างาม ท่วงท่าอ่อนช้อย โดยเฉพาะเมื่อว่ายน้ำ ช่วงคอที่ยาวระหง จะโค้งงอเป็นรูปตัว S อีกทั้งยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความงามต่าง ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีคู่เดียวไปตลอดชีวิต[3] ได้มีการใช้หงส์ในสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น นิทานปรัมปราต่าง ๆ หรือในอุปรากรสวอนเลค ที่นิยมนำมาประกอบการแสดงบัลเลต์[4] หรือในความเชื่อของชาวจีน หงส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์ฮองเฮา เคียงข้างกับมังกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ประจำองค์ฮ่องเต้ และยังจัดว่าเป็น 1 ใน 4 สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ถือเป็นสัตว์อมตะ ไม่มีวันตาย และหงส์ยังถือเป็นพาหนะของพระพรหม ซึ่งถือเป็น 1 ในตรีมูรติตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ เป็นต้น





                                                                       ห่าน
ห่าน (อังกฤษ: Goose, Gander) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้าน หรือกำจัดวัชพืชในสวน และนำมาเลี้ยงเพื่อบริโภคเป็นอาหาร ห่าน จัดเป็นนกขนาดใหญ่ที่อยู่ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ด, หงส์ และนกเป็ดน้ำชนิดต่าง ๆ ห่านมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหงส์ แต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีจุดเด่น คือ ในตัวผู้เมื่อถึงวัยโตเต็มที่แล้วจะมีปุ่มเนื้อแข็งหรือโหนกบริเวณก่อนถึงจะงอยปากตอนบน เด่นเห็นได้ชัดเจน [1] ห่าน แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล ด้วยกัน (ดูในตาราง) แต่ในส่วนในประเทศไทยที่กลายมาเป็นต้นสายพันธุ์ห่านที่เลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์อย่างในปัจจุบัน ได้แก่ ห่านเทาปากชมพู (Anser anser) และห่านเทาปากดำ (A. cygnoides)   ห่าน เป็นสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันในเชิงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยว่ามีตัวใหญ่ มีเนื้อในปริมาณที่มาก นิยมปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ขาห่านอบหม้อดินกับเส้นบะหมี่ในอาหารจีน[3]
สายพันธุ์ห่าน   ห่าน ในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก คือ
1ห่านพันธุ์จีน (สีเทาลายและสีขาว) (Chinese)       2  ห่านพันธุ์เอ็มเด็น (Embden)
3ห่านพันธุ์ทูเลาส์ (Toulouse)                                4ห่านพันธุ์ฟิลกริม (Pilgrim)
5ห่านพันธุ์แอฟริกัน (หัวสิงโต) (African)            6ห่านพันธุ์แคนาดา (ห่านป่า) (Canadian)

7ห่านพันธุ์อียิปต์เชียน (Eqyptian)


นกเงือก
นกเงือก (อังกฤษ: Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว  นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3] ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา  และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ  พบทั่วโลกมี 55 ชนิด [6]ใน 14 สกุล (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย    นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก  นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ[3]

นกฮัมมิ่งเบิร์ด

นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสผู้เคยมีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้เคยเอ่ยถึงนกฮัมมิงเบิร์ด (hummingbird) ว่าเป็นนกที่ธรรมชาติได้ประทานพรสวรรค์ให้มากเป็นพิเศษ เพราะมันมีลีลาการบินที่ตื่นตาตื่นใจที่สุดในโลกนกชนิดนี้มีลำตัวเล็ก น่ารัก คือมีความยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร มันมีปากที่ยาวเรียวและแหลม ปีกเล็กๆ ของมันสามารถกระพือได้เร็วถึง 80 ครั้ง/วินาที ทำให้มันสามารถลอยนิ่งอยู่ในอากาศและบินถอยกลังก็ยังได้เราพบเห็นนกชนิดนี้ได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5o เหนือและใต้ ถิ่นอาศัยของมันคือป่าที่มีภูเขา คนฝรั่งเศสเรียกมันว่า oiseaumouche แปลว่า นกที่ใหญ่กว่าแมลงวัน มันคือ beija flor ของคนสเปน ซึ่งหมายถึงนกที่จุมพิตดอกไม้ และคนคิวบาเรียนเรียกมันตรงไปตรงมาว่า zum zum ตามเสียงที่เขาได้ยินเวลามันบินนกฮัมมิงเบิร์ดตัวเมีย ตามปกติมีขนาดใหญ่กว่าตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย มันเป็นนกที่รักสันโดษ รู้จักรักและหวงแหนถิ่นอาศัยของมันมาก เมื่อใดก็ตามที่มันพบว่านกอื่นบุกรุกที่ที่มันเป็นเจ้าของ มันจะต่อสู้อย่างสุดฤทธิ์ นิสัยไม่ยอมและชอบต่อสู้นี้เอง ได้ทำให้ชาวอินเดียนเผ่า Astec ตั้งชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามตามชื่อของฮัมมิ่งเบิร์ดในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ฮัมมิงเบิร์ดจะเริ่มผสมพันธุ์ โดยจะใช้เวลานานไม่เกิน 2-3 วินาที มันทำรังโดยใช้ เช่น เปลือกไม้ และตะไคร่ ไข่ของมันมีขนาดเล็กกว่าเม็ดกาแฟ และจะต้องการฟักนาน 12-16 วันนกฮัมมิงเบิร์ดมักไม่ชอบการอพยพ แต่จะมีบางชนิดที่บินอพยพไกลเป็นพันกิโลเมตร จากบริเวณที่มีอากาศหนาวไปวางไข่ในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่น ถึงแม้ว่าตัวของมันจะเล็ก แต่มันก็สามารถบินได้ไกลกว่าและนานกว่าสัตว์อื่นที่มีขนาดตัวใหญ่กว่ามันมาก เมื่อใกล้กำหนดที่มันจะอพยพ มันจะกินอาหารล่วงหน้าให้น้ำหนักตัวเพิ่มถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ก็เพื่อสะสมไขมันที่มันจะต้องใช้ในการเดินทางไกล เปรียบเทียบกับคนที่หนัก 75 กิโลกรัมเขาจะต้องกินอาหารจนกระทั่งมีน้ำหนัก 110 กิโลกรัมให้ได้ภายใน 3 สัปดาห์จึงจะเก่งเท่านก  แต่คุณสมบัติที่โดดเด่นและน่าสนใจที่สุดคือ ความสามารถในการเก็บสะสมและปลดปล่อยพลังงานภายในตัวของมันในวารสาร Nature ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 R. Dudley แห่งมหาวิทยาลัย Taxas ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า ฮัมมิ่งเบิร์ดมีพลังงานสะสมในร่างกายสูงมากกว่าสัตว์เลือดอุ่นที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดในโลก เพราะมันสามารถปล่อยพลังงานได้ถึง 133 วัตต์ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในขณะที่คนสามารถถ่านเทพลังงานออกมาได้เพียง 15 วัตต์ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้นเอง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น